ตำนานอินทขีล

ความเป็นมาของเสาอินทขีล

ซึ่งเป็นบริเวณที่ตั้งเมืองเชียงใหม่ศูนย์กลางอณาจักล้านนานั้น เป็นที่ตั้งบ้านเมืองของชาวลัวะ ในเมืองนี้มีผีหลอกหลอน ทำให้ชาวเมืองเดือดร้อน ไม่เป็นอันทำมาหากิน อดอยากยากจน พระอินทร์จึงได้ประทานความช่วยเหลือบันดาลบ่อเงิน บ่อทอง และบ่อแก้ว ไว้ในเมือง เมื่อเศรษฐีลัวะ 9 ตระกูล แบ่งกันดูแลบ่อทั้งสามบ่อ บ่อละสามตระกูล โดยชาวลัวะต้องถือศีล รักษาคำสัตย์ เมื่อชาวลัวะอธิฐานสิ่งใดก็จะได้สมดังปรารถนา ซึ่งชาวลัวะก็ปฎิบัติตามเป็นอย่างดี บรรดาชาวลัวะทั้งหลายต่างมีความสุขความอุดมสมบูรณ์

ข่าวความสุขความอุดมสมบูรณ์ของเวียงนพบุรี ซึ่งเป็นตระกลูของชาวลัวะเลื่องลือไปไกลและได้ชักนำให้เมืองอื่นยกทัพมาขอแบ่งปัน ชาวลัวะตกใจจึงขอให้ฤๅษีนำความไปกราบทูลพระอินทร์ พระอินทร์จึงให้กุมภัณฑ์ หรือยักษ์สองตน ขุดอินทขีล หรือ เสาตะปูพระอินทร์ ใส่สาแหรกเหล็กหาบไปฝังไว้กลางเวียงนพบุรีเสาอินทขีลมีฤทธิ์มากดลบันดาลให้ข้าศึกที่มากลายร่างเป็นพ่อค้า พ่อค้าเหล่านั้นต่างตั้งใจมาขอสมบัติจากบ่อทั้งสามชาวลัวะแนะนำให้พ่อค้าถือศีลและรักษาคำสัตย์และอย่าละโมบ เมื่อขอสิ่งใดก็จะได้ พ่อค้าบางคนทำตาม บางคนไม่ทำตาม บางคนละโมบ ทำให้กุมภัณฑ์สองตนที่เฝ้าเสาอินทขีลโกรธ จึงพากันหามเสาอินทขีลกลับขึ้นสวรรค์ไป และบ่อเงิน บ่อทอง บ่อแก้ว ก็เสื่อมลง

มีชาวลัวะผู้เฒ่าคนหนึ่งไปบูชาเสาอินทขีลอยู่เสมอ ทราบว่ายักษ์ทั้งสองนำเสาอินทขีลกลับสวรรค์ไปแล้ว ก็เสียใจมาก จึงถือบวชนุ่งขาวห่มขาว บำเพ็ญศีลภาวณาใต้ต้นยาง เป็นเวลานานถึงสามปี ก็มีพระเถระรูปหนึ่งทำนายว่า ต่อไปบ้านเมืองจะถึงกาลวิบัติ ชาวลัวะเกิดความกลัว จึงขอร้องให้พระเถระรูปนั้นช่วยเหลือ พระเถระบอกว่า ให้ชาวลัวะร่วมกันหล่ออ่างขาง หรือกระทะขนาดใหญ่ แล้วใส่รูปปั้นต่างๆ อย่างละหนึ่งคู่ ปั้นรูปคนชายหญิงใชาห้ครบร้อยเอ็ดภาษา ใส่กระทะใหญ่ลงฝั่งในหลุมแล้วทำเสาอินทขีลไว้เบื้องบน ทำพิธีสักการบูชา จะทำให้บ้านเมืองพ้นภัยพิบัติ การทำพิธีบวงสรวงสักการบูชา จึงกลายเป็นประเพณีสืบต่อกนมาจนถึงปัจจุบัน