วัดเจดีย์หลวง วรวิหาร

วัดเจดีย์หลวง หรือ วัดโชติการาม หรือ วัดราชกุฏาคาร สร้างในสมัยพระเจ้าแสนเมืองมา รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย ครองราชย์ พ.ศ. 1929-1944 ไม่ปรากฎปีที่สร้างวัดแน่ชัด วัดเจดีย์หลวงเป็นพระอารามหลวงแบบโบราณ ที่แบ่งเขตเป็นพุทธาวาส 1 สังฆาวาสอีก 4 ที่ตั้งรายล้อมเขตพุทธาวาสอยู่ทั้งสี่ทิศ กิจวัตรประจำวัน เช่น ไหว้พระสวดมนต์แต่ละสังฆาวาาสหรือคณะ ต่างคนต่างทำในวิหารของตนถ้าเป็นงานสำคัญๆจึงจะร่วมกันในพระวิหารหลวง และประกอบสัฆกรรม อันเป็นสัฆกิจร่วมกนในพระอุโบสถ ซึ่งมีอยู่แห่งเดียวในเขตพุทธาวาสที่ได้ชื่อว่า วัดเจดีย์หลวง ตั้งแต่โบราณกาลมาเพราะถือเอาพระธาตุเจดีย์หลวงเป็นเนมิตกนาม คำว่า หลวง = ใหญ่ กล่าวได้ว่าเป็นเจติยสถานโบราณสูงใหญ่ที่สุดของไทย

ช่วงพุทธศักราช 2472-2481 ถือได้ว่าเป็นทศวรรษการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง เพื่อสร้างสรรค์พัฒนาใหม่ในทุกๆด้านของวัดเจดีย์หลวง ทำการรื้อถอนสิ่งปรักหักพัง แผ้วถางป่าที่ขึ้นคลุมเสนาสนะโบราณสถานต่างๆออก แล้วสร้างเสริมเสนาสนะใหม่ให้เป็นวัดสมบูรณ์แบบ ในเวลาต่อมา จนมีพระสงฆ์สามเณรอยู่ประจำปีละมากๆหลังจากถูกทิ้งร้างมานาน และจัดตั้งสำนักเรียนพระปริยัติธรรมขึ้นให้เป็นศูนย์กลางการศึกษา ปริยัติศึกษาแผนใหม่ในจังหวัดเชียงใหม่ สถานะนี้ปัจจุบันยังคงมีอยู่ ด้วยการมองการไกลและผลงานที่เป็นรูปธรรมังกล่าวจึงทำให้วัดเจดีย์หลวงได้เลื่อนฐานะขึ้นเป็น พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิด วรวิหาร เป็น วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร เมื่อปี พ.ศ. 2481 เป็นต้นมา

สถานที่สำคัญในวัดเจดีย์หลวง เชียงใหม่

พระวิหารหลวง

เป็นสถาปัตยกรรมทรงล้านนาประยุกต์ สร้างครั้งแรกโยพระนาติโลกะจุดา(ฑา) พระราชมารดาของพระเจ้าสามฝั่งแกน เมื่อปี พ.ศ. 1955

พระอัฏฐารถ

พระพุทธปฎิมาประทานในพระวิหารหลวง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปห่อด้วยทองสำริด ปางห้ามญาติสูง 8.23 เมตร พร้อมทั้งพระอัครสาวก

พระธาตุเจดีย์หลวง

เป็นพระเจดีย์เก่าแก่อายุกว่า 600 ปี สูงที่สุดในอณาจักรล้านนาไทยและประเทศไทย สร้างครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 1934 สมัยพระเจ้าแสนเมืองมา รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์มังรายครองราชย์ พ.ศ. 1929-1944

บ่อเปิง บ่อน้ำใหญ่

ก่ออิฐก้นดินพังไว้อย่างดี อยู่ห่างพระเจดีย์ไปทางทิศใต้ 57.75 เมตร บ่อเปิงขุดมาเพื่อนำน้ำมาใช้ในการสร้างพระธาตุเจดีย์หลวง สมัยพระเจ้าติโลกราช ทรงสร้างเสริมพระธาตุเจดีย์หลวง พ.ศ. 2022-2024

ต้นยางใหญ่

ในเจดีย์หลวงมีต้นยางใหญ่ 3 ต้น อายุกว่า 200 ปี ปลูกในสมัยพระเจ้ากาวิละ ต้นหนึ่งอยู่กึ่งกลางระหว่าง วิหารอิทขีล-ศาลกุมภัณฑ์ด้านหน้าวัด

เจดีย์บูรพาจารย์

เป็นที่บรรจุอัฐิธาตุอดีตเจ้าอาวาสและบูรพาจารย์ ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับวัดเจดีย์หลวง สมโภช ณ วันที่ 11 กรกฎา พ.ศ. 2554

วิหารหลวงปู่มั่น

สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานบุษบกบรรจุอัฐิธาตุ ฟันกราม และรูปเหมือนหลวงปู่มั่น ภูริตฺโต ทำพิธีถวายวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546

วิหารจตุรมุขบูรพาจารย์

เป็นปูชณียสถานประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และอัฐิธาตุของบูรพาจารย์ สมโภชถวายวันที่ 13-14 มกราคม พ.ศ. 2549

พระนอน

หรือพระพุทธไสยาสน์ เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่คู่กับพระเจดีย์ แต่ไม่ปรากฎว่าใครสร้าง สร้างเมื่อใด สร้างด้วยการก่ออิฐฉาบปูน ปิดทอง

โบสถ์เก่า

เป็นสถาปัตยกรรมพื้นบ้านล้านนายุคสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 7 มีการบูรณะหลายครั้งเพื่อให้คงสภาพเดิมไว้ เนื่องด้วยเป็นหนึ่งในหมวดอุโบสถสำคัญในเขตกำแพงเมืองเชียงใหม่มาแต่โบราณ

หอธรรม/พิพิธภัณฑ์

เมื่อปี พ.ศ. 2017พระเจ้าติโลกราชได้สร้างพระวิหารหลวงใหม่ พร้อมทั้งให้สร้างหอธรรม(หอพระไตยปิฏก) ไว้ทางด้านเหนือองค์พระเจดีย์ คือ สังฆาวาสหอธรรม และด้านใต้ในเขตพุทธาวาส หลังปัจจุบัน สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2551

พระมหากัจจายน์

มี 2 องค์ องค์ที่1 ประดิษฐานอยู่หลังเจดีย์ ติดกับพระนอน พระมหากัจจายน์องค์ที่ 2 ประดิษฐานอยู่ในวิหารหลังเล็กอยู่ห่างพระเจดีย์ไปทางทิศเหนือ (คณะหอธรรม) 46.07 เมตร ไม่มีหลักบานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด

กุมภัณฑ์

สร้างขึ้นเพื่อคอยรักษาเสาอินทขีล มีอยู่สองตนสองศาล วิหารเสาอินทขีล อินทขีล หรือ เสาหลักเมืองเชียงใหม่ ตั้งอยู่ในวิหารอินทขีล สร้างขึ้นเมื่อครั้งพระเจ้ามังรายสร้างนครเชียงใหม่ในปี พ.ศ.1839