วัดพระธาตุดอยคำ เชียงใหม่

เป็นวัดสำคัญในจังหวัดเชียงใหม่ อายุเก่าแก่กว่า 1,300 ปี ตั้งอยู่บริเวณดอยคำ ด้านหลังอุทยานหลวงราชพฤกษ์ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 10 กิโลเมตร วัดพระธาตุดอยคำมีความสูงจากระดับที่ราบเชียงใหม่ราว 140 เมตร และมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 465 เมตร วัดพระธาตุดอยคำมีลานชมวิวที่สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์รอบเมืองเชียงใหม่

และยังเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าทันใจซึ่งมีอายุเก่าแก่กว่าห้าร้อยปี “วัดพระธาตุดอยคำ” จังหวัดเชียงใหม่ มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักไปทั่ว จากปฏิหาริย์แห่งการบนบานศาลกล่าวต่อ “พระเจ้าทันใจ” สิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งวัดดอยคำแล้วประสบความสำเร็จกันเป็นจำนานมาก

ค้นหาห้องพักราคาถูก ในเชียงใหม่


Booking.com

ประวัติพระธาตุดอยคำ เชียงใหม่

วัดพระธาตุดอยคำสร้างในปี พ.ศ. 1230 รัชสมัยพระนางจามเทวีกษัตริย์แห่งหริภุญชัย โดยพระโอรสทั้ง 2 เป็นผู้สร้าง ประกอบด้วยเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ศาลาการเปรียญกุฏิสงฆ์ และพระพุทธรูปปูนปั้น เดิมชื่อวัดสุวรรณบรรพต แต่ชาวบ้านเรียกว่า “วัดดอยคำ”

พ.ศ. 2509 ขณะนั้นวัดดอยคำเป็นวัดร้าง ต่อมากรุแตกชาวบ้านพบโบราณวัตถุหลายชิ้น เช่น พระรอดหลวง พระหินทรายปิดทององค์ใหญ่ พระสามหมอ (เนื้อดิน) ซึ่งนำมาประดิษฐานไว้ ณ วัดพระธาตุดอยคำ พระธาตุดอยคำนอกจากจะเป็นที่สักการบูชาของคนท้องถิ่นแล้ว ยังเป็นสัญลักษณ์อีกแห่งหนึ่งของการบินไทยที่ใช้กำหนดพื้นที่ทางสายตา ก่อนที่จะนำเครื่องบินลงจอดที่สนามบินเชียงใหม่

mairoopainai

ประจำทุกปี โดยยึดถือเอาวันแรม 7 ค่ำ 8 ค่ำ หลังวันวิสาขบูชาทุกปี เป็นวันสรงน้ำพระธาตุ ซึ่งถือว่าเป็นวันถวายพระเพลิงพระพุทธศรีระของ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (หลังเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ 8 วัน) ถือเป็นวันสำคัญในพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือนวิสาขะ (เดือน 6 ของไทย) ทางวัดพระธาตุดอยคำ จึงยึดถือเอาวันนี้จัดงาน และพิธีสรงน้ำเพื่อรำลึกนึกถึง พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ที่ท่านได้สร้างเผยแพร่พระพุทธศาสนาเอาไว้

ตำนานเกี่ยวกับพระธาตุดอยคำ เชียงใหม่

เทือกเขาถนนธงชัย ด้านทิศตะวันตกบนเทือกเขาเหล่านั้นจะเป็นที่ประดิษฐานขององค์พระเจดีย์สำคัญและเก่าแก่ คู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่ถึง 2 องค์พระเจดีย์ แต่ละแห่งถูกสถาปนาขึ้นโดยพระมหากษัตริย์ในสมัยหริภุญชัยและล้านนาตามลำดับ หนึ่งในนั้นคือพระธาตุดอยคำ อยู่บนยอดเขาเล็กๆ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตัวเมืองเชียงใหม่

เรียกว่า “พระธาตุดอยคำ” เคยเป็นที่อยู่อาศัยของยักษ์สองผัวเมีย ชื่อ จิคำและตาเขียวมาก่อน ซึ่งต่อมาชาวบ้านได้เรียกยักษ์ทั้งสองนี้ว่า “ปู่แสะ – ย่าแสะ” ปู่แสะย่าแสะมีลูก 1 คน ชื่อว่า “สุเทวฤๅษี”

เหตุที่ได้ชื่อว่าดอยคำ เนื่องจากศุภนิมิตที่ยักษ์ทั้งสองได้รับพระเกศาธาตุจากพระพุทธเจ้า เกิดฝนตกหนักหลายวัน ทำให้น้ำฝนเซาะและพัดพาแร่ทองคำบนไหล่เขา และลำห้วยไหลลงสู่ปากถ้ำเป็นจำนวนมาก จึงเรียกภูเขาลูกนี้ว่า “ดอยคำ”

จากตำนานหลายฉบับได้กล่าวว่า เทวดาได้นำพระเกศาธาตุที่พระพุทธเจ้าได้ประทานแก่ปู่แสะและย่าแสะ นำขึ้นมาฝังและก่อสถูปไว้บนดอยแห่งนี้ และต่อมาในปี พ.ศ. 1230 เจ้ามหันตยศและเจ้าอนันตยศ สองพระโอรสแฝดของพระนางจามเทวีแห่งหริภุญชัยได้ขึ้นมาก่อเจดีย์ครอบพระสถูปเกศานั้นไว้

ปู่แสะ ย่าแสะพระธาตุดอยคำ

ก่อนจะขึ้นไปไหว้พระธาตุดอยคำ อย่าลืมแวะไหว้ปู่แสะ ย่าแสะ บริเวณทางขึ้นด้านล่างก่อน

ตามตำนานที่เล่าขานกันมาว่า มีต้นกำเนิดสืบเนื่องมาจาก ปู่แสะ (จิคำ) ย่าแสะ (ตาเขียว )ซึ่งทั้งสองเป็นยักษ์ มีลูก 1 คน เมื่อพระพุทธเจ้าได้เสด็จมายังนิวาสสถานของสามยักษ์ พ่อแม่-ลูก ทันทีที่ยักษ์เห็นพระพุทธเจ้า มีการออกอาการของขึ้นทันที จนน้ำลายไหลยืดอยากหม่ำเป็นอาหารจานเด็ด แต่พระพุทธองค์ทรงทราบถึงวิสัยของยักษ์ดี

จึงได้แผ่เมตตา บารมี และบุญญาธิการของพระองค์ สู่จิตใจของยักษ์ทั้งสามตน จนทำให้กระแสจิตของยักษ์ทั้งสามอ่อนลงทันที เข้ามากราบแทบพระบาทพระพุทธเจ้า พระองค์จึงได้แสดงธรรมโปรดยักษ์ทั้งสาม ยักษ์ผู้เป็นลูกยอมรับสมาทานศิล 5 จึงขอบวชเป็นพระฤษี อยู่ที่หุบเขาอุจฉบบพต มีชื่อว่า สุเทวฤาษี

ค้นหาที่พักในเชียงใหม่

ส่วนยักษ์ พ่อ แม่ ยังเอาไม่อยู่ไม่สามารถรับศิล 5 ได้เนื่องจากอาชีพความเป็นยักษ์ ที่ต้องกินมนุษย์และสัตว์เป็นอาหาร ยังศีรษะดื้อแพ่งต่อรองขออนุญาตกินมนุษย์ ปีละ 2 คนก็พอ ไม่ขออะไรไปมากกว่านี้ แต่พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาต ท้ายสุดและสุดท้าย ก็ได้ข้อยุติพบกันครึ่งทาง คือขอกินเนื้อสัตว์ปีละครั้ง

ก่อนที่พระองค์จะเสด็จกลับได้ดึงเอาพระเกศาให้ไว้เคารพบูชาแทน ต่อมาภายหลังยักษ์ปูแสะก็ถือศิลดำรงชีพอยู่ใกล้ๆวัดฝายหิน เชิงดอยสุเทพ ส่วนยักษ์ย่าแสะได้อยู่ดูแลรักษาพระเกศาธาตุพระพุทธเจ้าภายในถ้ำดอยคำจนสิ้นชีวิต…(ปัจจุบันรูปเหมือนยักษ์ทั้งสองตั้งอยู่ทางขึ้นและในวัดพระธาตุดอยคำ

หลวงพ่อทันใจ พระธาตุดอยคำ เชียงใหม่

ตามประวัติสร้างขึ้นในรัชสมัย พญากือนา หรือพญาธรรมิกราช เป็นพระมหากษัตริย์ล้านนา รัชกาลที่ 6 แห่งราชวงศ์มังราย ทรงครองราชย์ ระหว่าง พ.ศ. 1898 – พ.ศ. 1928

สำหรับพิธีกรรมการสร้างพระพุทธรูป ที่เรียกว่า”พระเจ้าทันใจ”ซึ่งหมายถึง พระพุทธรูปที่ใช้เวลาสร้างได้สำเร็จภายใน 1 วัน กล่าวคือ จะเริ่มพิธีตั้งแต่หลัง 6 ทุ่มเป็นต้นไป จนสามารถสร้างองค์พระได้สำเร็จก่อนพระอาทิตย์ตกดิน (ก่อนเวลา 18.00 น.) ของวันถัดไป ถ้าสร้างไม่เสร็จถือเป็นพระพุทธรูปธรรมดาทั่วไป และสามารถทำพิธีพุทธาภิเษกได้ในเย็นอีกวันหนึ่ง

ทั้งนี้เนื่องจากการสร้างพระพุทธรูปนั้น มักจะมีขั้นตอน และพิธีกรรมที่ละเอียดซับซ้อน การสร้างพระพุทธรูป และสามารถทำพิธีพุทธาภิเษกได้สำเร็จภายใน 1 วัน จึงถือว่าเป็นเรื่องมหัศจรรย์ จึงเชื่อกันว่าเป็นเพราะพระพุทธานุภาพ และอานุภาพแห่งเทพยดาที่บันดาลให้พิธีกรรม สำเร็จโดยปราศจากอุปสรรค ดังนั้นพุทธศาสนิกชนจึงถือว่าพระเจ้าทันใจเป็นพระพุทธรูป ที่จะบันดาลความสำเร็จ ให้แก่ผู้อธิษฐานขอพรได้อย่างทันอกทันใจ

ปัจจุบันด้วยความศักดิ์สิทธิ์ปาฎิหาริย์มหัศจรรย์ยิ่งนักของ พระเจ้าทันใจ วัดพระธาตุดอยคำแห่งนี้ ที่มีผู้คนไปกราบไหว้อธิฐาน ด้วย”ดอกมะลิ” จะนิยมขอในเรื่องหน้าที่การงาน เงินทองหรือโชคลาภ มักประสบความสำเร็จตามคำอธิฐานทุกประการ จึงมีผู้ศรัทธาที่แรงกล้ารวมถึงผู้คนที่มาจากทั่วสารทิศ ที่ใฝ่ฝันอยากจะมากราบไหว้สักการะสักครั้งหนึ่งในชีวิตให้ได้ และจะพบเห็นได้ว่า ในแต่ละวันมีผู้หลั่งไหลมาขอพรพระเจ้าทันใจ ด้วยดอกมะลิ กองโตรวมแล้วหลายหมื่นหลายแสนพวง อยู่บริเวณด้ายหน้าหลวงพ่อทันใจนั้นเอง

การบนบานสารกล่าว คำอธิฐานขอพร ให้สำเร็จผล ที่พระธาตุดอยคำ เชียงใหม่

จุดธูป 3 ดอก ตั้งนะโม 3 จบ แล้วว่าคาถา ” โอม นะโมพุทธายะ ยะอะสะ สุมัง จะปาคะ

แล้วบอกชื่อเรา ข้าพเจ้าชื่อ …………….และเล่าเรื่องที่จะขอให้ละเอียด เสร็จแล้วบอกหลวงพ่อพระเจ้าทันใจ ขอให้ช่วยข้าพเจ้าสำเร็จโดยด่วน และเมื่อข้าพเจ้าสำเร็จแล้ว จะมาถวายดอกมะลิจำนวน……พวง

(ส่วนมากจะนิยมบนด้วยห้าสิบพวงขึ้นไป) ถ้าเราจะให้มากกว่านี้ก็บอกท่านไปเลยตรงๆ

การแก้บนที่พระธาตุดอยคำ เชียงใหม่

การแก้บนก็เหมือนกัน จุดธูป 3 ดอก ตั้งนะโม 3 จบ แล้วว่าคาถา ” โอม นะโมพุทธายะ ยะอะสะ สุมัง จะปาคะ

แล้วบอกชื่อเรา ข้าพเจ้าชื่อ …………….ได้นำดอกมะลิมาแก้บนแล้วตามที่ข้าพเจ้าสัญญาเอาไว้ ขอองค์หลวงพ่อพระเจ้าทันใจรับไว้ด้วย สาธุ สาธุ สาธุ

พระรอดหลวง พระธาตุดอยคำ เชียงใหม่

สำหรับพระรอดหลวงองค์นี้ว่าถูกค้นพบตอนกรุของวัดพระธาตุดอยคำแตก เมื่อปี 2509 แกะสลักมาจากหินทราย ศิลปะอยู่ในช่วงสมัยหริภุญชัย ลำพูน และสมัยลพบุรีเจริญรุ่งเรือง มีความเก่าแก่ และศักดิ์สิทธิ์มาก การสร้างพระรอดหลวง

ในสมัยก่อนนั้นก็เพื่อเป็นองค์ประธานในการปลุกเสกพระเครื่องสกุลลำพูน เพื่อนำไปแจกจ่ายให้แก่ทหารติดตัวออกรบ ปัจจุบันมีอายุ 1,334 ปี ซึ่งบางปีจะมีพิธีอัญเชิญพระรอดหลวง ออกมาจากวิหารเพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำในช่วงเทศกาลสงกรานต์ในจังหวัดเชียงใหม่นั้นเอง